ทำตัวเป็นหลุยที่ 14 แต่บารมีเหมือนหลุยส์ที่ 16

วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2564) ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “โดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 2475 เห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์การปกครองของไทย อำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด นับตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา ตลอดจนกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์มีพระราชภารกิจสำคัญยิ่งเพื่อรักษาความอยู่รอดของบ้านเมืองและประชาชน โดยดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย นำกองทัพต่อสู้ปกป้อง และขยายราชอาณาจักรตลอดเวลา….”
.
กล่าวโดยสรุป คือ สถาบันฯ = ชาติ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแยกไม่ออก
.
วิจารณ์สถาบันฯ = วิจารณ์ประเทศชาติ
.
อ่านแล้วก็ทำให้นึกถึงคำพูดของ Celeb ท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เขา คือ กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) ของประเทศฝรั่งเศส ที่เคยกล่าววว่า « l’État c’est moi » แปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ รัฐคือข้า ข้าคือรัฐ (กูนี่แหละคือประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสเป็นของกูโว้ย ใครจะทำไม) เนื่องจากในสมัยนั้น กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 มีบารมีมาก สามารถสร้างความรุ่งเรือง รวย ๆ เฟียส ๆ ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส สามารถรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น เกิดเป็นรูปแบบการปกครองสมัยใหม่ขึ้นมา คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเป็นรัฐสมัยใหม่ที่มีรูปแบบการปกครองรวมศูนย์จากส่วนกลางที่ชัดเจน ต่างจากในอดีตที่ดินแดนต่าง ๆ ถูกปกครองอยู่ภายใต้ระบบเจ้าขุนมูลนาย หรือที่เราเรียกว่าระบบฟิวดัล (Feudalism) ผลงานชิ้นโบแดงของพระองค์ที่ยังปรากฎในปัจจุบัน คือ พระราชวังแวร์ซาย (Château de Versailles) ซึ่งมีชื่อเสียง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศฝรั่งเศสถึงความร่ำรวย และความสามารถในทางสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น
.
อนิจจา… ความร่ำรวยของประเทศฝรั่งเศส (ซึ่งเท่ากับความร่ำรวยของพระองค์เอง) แลกมาด้วยความเดือดร้อน ยากจน ลำบาก คับแค้นใจของประชาชน… ปัญหาดังกล่าวสั่งสมมาเรื่อย ๆ บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจหลังสงครามประกาศอิสรภาพของประเทศอเมริกา เมื่อกษัตริย์องค์ต่อมา หลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) หลานของหลุยส์ที่ 14 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมืองได้ ทำให้ประชาชนหมดความอดทนและลุกฮือขึ้นมา และก็จบลงด้วยเหตุการณ์ปฏิวัติ 1789 และการประหารชีวิตหลุยส์ที่ 16 ในข้อหาทรยศต่อชาติ (ซึ่งในเวลาต่อมา ชาติ เท่ากับ ประชาชน) ในวันที่ 21 มกราคม 1793
.
ไม่มีอะไร เล่าให้ฟังเฉย ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *