?? บทสรุป #จดหมายถึงพ่อ

(พวกเขาเคลมว่า) วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ แล้วพวกเราก็จะได้หยุดงานหนึ่งวันเพื่อเฉลิมฉลอง ได้อยู่บ้านกับพ่อ พาพ่อไปกินข้างนอกบ้าน ทุกปี ทุกปี จนเป็นเรื่องปกติ แต่เอ๊ะ? เคยใครสงสัยไหมว่า พ่อเราไม่ได้เกิดวันนี้ซะหน่อย มันเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (AKA พระเจ้าอยู่หัวในบรมโกษฐ์) อดีตประมุขของรัฐไทย (2489-2559) แล้วมันไปโยงกับพ่อของเราได้ยังไง?

“ทำไมเราต้องพาพ่อจริง ๆ ของเราไปกินข้าวนอกบ้านในวันเกิดของพ่อคนอื่นด้วย ??”

คำตอบที่อยู่ในสายลมกระซิบบอกเราว่า พวกเขา (AKA ชนชั้นปกครอง) พยายามสร้าง ‘พ่อมโน’ ให้พวกเราได้ซาบซึ้งไต ซาบซึ้งไปกับความเป็น ‘พ่อ’ ของคนไทยทุกคนอย่างหาที่สุดไม่ได้ หลาย ๆ คนคงเคยได้ดูโฆษณาประกันชีวิตแล้วซาบซึ้งใจไปกับเนื้อหาเมโลดราม่า เผลอน้ำตาไหล อินไปกับความสัมพันธ์พ่อ-ลูก

ก็คงต้องยอมรับโดยสดุดีว่าการสร้างภาพลักษณ์ให้กษัตริย์ (AKA ในหลวง) ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อ มันฝัง Inceptionในหัวพวกเราโดยไม่รู้ตัวตั้งแต่แบเบาะเลยทีเดียว กว่าจะรู้ตัวอีกทีเราก็เรียกในหลวงว่า ‘พ่อ’ ได้อย่างไม่กระดากปาก ไม่ดูจ้าบจ้วง มันเป็นกระบวนการ familiarisation หรือการทำให้เสมือนครอบครัวเดียวกัน ปลูกฝังความผูกพันแบบพ่อลูกให้กับเราตั้งแต่จำความได้ ล้างสมองอันน้อยนิดมหาศาลของเราให้เราจงรักและภักดีโดยไม่ต้องมีเหตุผลด้วยคำว่า ‘พ่อ’

ตัดภาพกลับมาในวัยเด็ก ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งทุกๆโรงเรียนในประเทศไทย เมื่อถึง ‘วันพ่อแห่งชาติ’ ก็จะมีการประกวดเขียนเรียงความ คำขวัญ วาดรูป ในธีม ‘พ่อของฉัน’ แต่ผลงานที่ได้รางวัลกลับมักจะเป็นเรื่องของในหลวงในฐานะพ่อของแผ่นดินด้วยวาทกรรมแห่งความเสียสละที่ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยพระวิริยอุตสาหะ และพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชาราษฎร์ จนเป็นที่ประจักษ์ ถึงน้ำพระราชหฤทัยอันยิ่งใหญ่แห่งพ่อหลวงของแผ่นดิน บลา บลา บลา จนไปถึงคำขวัญฮิป ฮิปแต่ไม่มีลอจิก แบบรักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด ถูกผลิตซ้ำให้รับรู้โดยทั่วกันจนเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน

ในห้องเรียนคุณครูก็มักจะถามนักเรียนว่าอยากจะบอกอะไรถึง “พ่อหลวง” ของเราบ้าง และแน่นอนคำตอบของทุกคนก็จะวนเวียนอยู่กับความซาบซึ้งใจที่อิงกับวาทกรรมข้างต้น

ถึงตรงนี้ อยากให้ทุกท่านลืมภาพในอดีต ลองจินตนาการดูว่าคุณคือเด็กชายไทยแท้ แล้วเด็กชายไทยแท้รีพลายคุณครูไปด้วยประโยคปฏิเสธธรรมดา ๆ ว่า

“He is not my father – มรึงไม่ใช่พ่อกรู !!!!!!!!!!!!”

แน่นอนทึ่สุด เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง และไม่มีใครคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริงในประเทศคัลท์คัลท์แห่งนี้ เอาเป็นว่าสมมุติละกัน สมมุติว่ามันเกิดขึ้นจริง ชะตากรรมของเด็กชายไทยแท้จะเป็นอย่างไร

เด็กชายไทยแท้คงต้องโดนทำโทษ ประณาม ข่มขู่ คุกคาม เรียกพบผู้ปกครอง บังคับให้ลาออก และถ้าเป็นเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเรื่องคงเงียบอย่างพิกล ไม่มีรีทวิตเรื่องของเด็กชายไทยแท้ ที่สำคัญก็จะไม่มีนักเรียนไหนกล้าพูดแบบเด็กชายไทยแท้

Oh poor boy ไทยแท้ – ช่างน่าสงสารเด็กไทยเสียเหลือเกิน

กลับสู่โลกความเป็นจริงอันแสน Surreal ที่มาของ “วันพ่อ(ง)แห่งชาติ” ริเริ่มมาจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงนามโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ใจความสำคัญ คือ ยกเลิกวันชาติเดิมจากวันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันพระราชสมภพของในหลวงรัชกาลที่ 9

ประกาศนี้ถือเป็นหนึ่งความย้อนแย้งของการใช้บังคับใช้กฏหมายไทย โดยศักดิ์ทางกฏหมายแล้วประกาศสำนักนายกฯ มีลำดับต่ำกว่าพระราชบัญญัติ ไม่ต้องพูดถึงรัฐธรรมนูญซะด้วยซ้ำไป แต่ทางการกลับยืดถือประกาศสำนักนายกฯ มากกว่ารัฐธรรมนูญ คงอายุประกาศไว้กว่า 60 ปี แต่รัฐธรรมนูญฉีกแล้วเขียนใหม่เป็นกระดาษทิชชู่ทุก ๆ 10 ปีกันเลยทีเดียว

เซอร์ในเซอร์ไปกว่านั้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ประยุทธ์ จันทร์ฯ (AKA LungToo) ผู้จงรักภักดีกว่าใครๆใน 3 โลกออกประกาศใหม่ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาของทุกปี ควบ “วันชาติ” และ ‘วันพ่อ(ง)แห่งชาติ’ เป็นวันเดียวกันไปเลย – Well Well Well I hear Too, คนตายไปแล้วก็ยังจะโหน จงรักภักดีกันจนขนหน้าแข้งติดซอกฟันกันเลยทีเดียว

จากหลักฐานข้างต้น มันพอจะทำให้เห็นถึงกระบวนการล้างสมองประชาชนแบบซอฟท์คอร์ กรอกหูมันทุกวี่วันตลอดเวลาอย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2503 มันก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นักที่พวกสว.เสื้อเหลืองวัย BB 50+ 60+ ชาว Gen X Y ตอนต้น เสื้อหลากสี (AKA ราชนิกูลแซ่หลิ่ม) ผู้ดัดจริตรักความเป็นกลางและชาบูประชาธิปไตยแบบชาติศาสนาพระมหาษัตริย์ จะรัก ‘พ่อมโนเหนือหัว’ ของพวกเขาเกินกว่าพ่อตัวจริง ๆ เสียอีก ผู้ใดบังอาจพูดถึงในทางอื่นใดเบา ๆ มิต้องถึงกับจ๊วบจ๊าบ ก็ร้องไห้ฟูมฟายพร้อมกับตะโกนเกรี้ยวกราดด้วยถ้อยคำผรุสวาทอย่างอสุรภาพว่า ‘มรึง ไม่รักพ่อหลวงได้ไง’ ไอ้พวกเหี้ย ‘ชังชาติ’ ไอ้พวกเด็ก ‘เนรคุณ’ บลา ๆๆ ถึงขั้นไล่ลูกในไส้ตัวเองที่ไปร่วมกับม๊อบให้ออกจากบ้านด้วยข้อหา “ล้มเจ้า”ประโยคเสร่อ ๆ อย่าง ‘ใครไม่รักพ่อ ก็ออกจากบ้านของพ่อไป’ มันเคย So powerful แบบไม่น่าจะเป็นไปได้มาแล้วเมื่อยามที่ม๊อบ กปปส.ครองเมือง

แต่ถ้าลองใช้หัวแม่เท้าตรองดูก็พอจะนึกออกว่า เค้าไม่ใช่พ่อกู ! ทำไมกูต้องรักด้วย ความรักมันมีหลายเฉดตั้งแต่ รักมาก เฉย ๆ ไม่รัก จนเกลียดไปเลยก็มี แล้วถามว่าถ้ากูเฉย ๆ กับพ่องได้ม๊ะ กูไม่ได้รู้สึกยินดียินร้ายกับพ่องได้หรือเปล่า หรือแม้กระทั่งกูก็อาจจะไม่ชอบซะด้วยซ้ำไป แล้วทำไมต้องมาบังคับให้กูรัก

ในความเป็นจริง จริง ๆ ท่านและครอบครัว (จริง ๆ) ของท่านสมาทานภาษีไปซะด้วยซ้ำไป แล้วทำไมเราในฐานะประชาชนจะวิจารณ์ไม่ได้ เมื่ออาศัยภาษีของประชาชนเหมือนนักการเมืองทั่วไปที่ท่าน ๆ เกลียดหนักเกลียดหนา ประชาชนอย่างเรา ๆ ก็ต้องด่าได้สิ ยิ่งเมื่อมีคนมาแก้ต่างให้ว่าพระองค์ท่านเป็นข้าราชการ มันก็ต้องเรื่องปกติที่จะวิจารณ์ได้ ด่าได้ สิว่ะ ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง หรือหากจะบอกว่าท่านเป็นประมุขของรัฐ ท่านก็ไม่ใช่ชาติอยู่ดี จะมาบอกว่าเราชังชาติได้ไง แล้วถ้ากูไม่รักพ่อ(ง) มีสิทธิ์อะไรมาไล่กูออกนอกประเทศ

คุณจะรัก จะจงรักภักดีแค่ไหน จะขอเป็นฝุ่นใต้เท้าทุกชาติไป ก็เรื่องของคุณ ผมก็คงไปว่าอะไรคุณไม่ได้ แต่พวกคุณจะมาบังคับให้คนอื่นไปรักพ่อมโนของคุณด้วย ผมไม่อิน

พ่อ ≠ ชาติ
ชาติ คือ พวกเรา
พวกเรา คือ ประชาชน

เขียนมาตั้งยาวเกินโควต้าปีนี้ไปละ สุดท้าย เราในฐานะประชาชนขอเรียกร้องให้

(1) หยุดใช้คำว่า “พ่อ” เพื่อบังคับให้คนอื่นเขามารักอย่างไม่มีเหตุผลเสียที !!!
เคารพเสรีภาพทางการเมืองกันบ้าง แล้วก็เลิกได้แล้วกับการบังคับเกณฑ์คน ข้าราชการในหน่วยงานของรัฐมาแสดงออกถึงความรักความภักดี ‘นักการเมือง’ ของพวกคุณได้แล้ว
คนเขาจะรัก ยืนใส่แว่นแขวนกล้องถ่ายรูปเฉย ๆ เขาก็รัก

(2) ยกเลิกวันที่ 5 ธันวาเป็น ‘วันพ่อแห่งชาติ’ และ ‘วันชาติ’
ในทุก ๆ วัน มีคนเกิดเป็นล้าน ๆ คนทุกคนมีความสัมพันธ์กันในครอบครัวและสังคมที่หลากหลาย เป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อน ลุง ป้าข้างบ้าน น้า อา ไม่ใช่เฉพาะพ่อ ทุกคนเกิดมาล้วนเท่าเทียมด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำไมต้องให้ความสำคัญกับใครสักคนจนเอ่อล้นอย่างไม่มีเหตุผล ทำไมต้องเอางบประมาณกว่า 58,600,000 บาทจากภาษีประชาชนที่คุณอ้างว่าเป็นลูกมาจัดงานเฉลิมฉลองให้อดีตประมุขของรัฐที่ไม่อาจอยู่ร่วมงานฉลองด้วย

Sorry Dad. YOU are not my father

ปัจฉัมลิขิต
หากจะใครสักคนที่จะรำลึกถึงในวันที่ 5 ธันวาคม ก็น่าจะเป็นราษฏรแบบเรา ๆ ท่าน ๆ ที่สู้เพื่อประชาธิปไตยจนลมหายใจถูกพรากไป

5 ธันวาคม Happy birthday คุณเตียง ศิริขันธ์ (2452-2495)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *